ตะลึงขุดพบพระนางพญา วัดนางฯ 1 ใน 5 เบญจภาคี

ตะลึงขุดพบพระนางพญา วัดนางฯ 1 ใน 5 เบญจภาคี

550359

เมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีประชาชนแตกตื่นแห่มุงดูอยู่ขอบกำแพงวัดนางพญา อ.เมือง พิษณุโลกจึงเดินทางไปตรวจสอบภายในวัดนางพญาโดยมีผู้รับเหมาดำเนินการนำเครื่องจักรหนักไปปั่นดินขึ้นมาเพื่อวางเสาเข็มล่าสุดมีคนงานกำลังตัดดินขึ้นมาจากหลุม ซึ่งการตักดินขึ้นมาหลายกระแป๋งจากที่ขุดลงไปกว่า 3 เมตร ก็พบพระเครื่องเนื้อดินพิมพ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพิมพ์นางพญาปี 14 เป็นส่วนใหญ่ ทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ด้านหลังปั้มตราดวงดวงตราพระฤกษ์”

พระครูสุจิตธรรมวิมล เจ้าอาวาสวัดนางพญา กล่าวว่าวันนี้มีผู้รับเหมาขุดดินขึ้นมา เนื่องจากต้องการตอกเสาเข็ม สร้างพลับพลาจตุรมุข ที่ประทับครอบครัวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำนวน 5พระองค์ หลุมเดียวที่ขุดพบพระเครื่องเนื้อดิน เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เคยประกอบพิธีทำปลุกเสกพระเครื่องในหลายยุคบางส่วนก็บรรจุฝังดินไว้บริเวณแห่งนี้ที่ผ่านมาวัดนางพญาก็เคยปล่อยเช่าบูชาพระนางพญาปี 14 ไปแล้ว

ปลุกเสกพิธีใหญ่ปั๊มเป็นดวงพระฤกษ์ สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2514นอกจากนี้ก็มีพระเครื่องพิมพ์ปางป่าเลไลย์ สีแดงด้านหลัง ระบุสร้างปี2515 และเนื้อดินพิมพ์พระยืนอุ้มบาตร ฯลฯ

ในเบื้องต้นอาตมา จึงสั่งให้คนงานนำขึ้นมาเก็บไว้เป็นสมบัติของวัดยืนยันว่า ไม่ใช่พระกรุแตกเหมือนวัดอื่นๆ แต่เป็นพระใหม่ ปี 14อดีตเจ้าอาวาสวัดนางพญาองค์เก่าคือ พระอาจารย์ถนอม เขมจาโรสร้างไว้ในยุคนั้น ซึ่งบริเวณแห่งนี้เคยประกอบพิธีสร้างพระนางพญารุ่นแรกตั้งแต่ปี 2496เรื่อยมายุคนั้นก็สร้างและไปฝากฝังวัดแห่งอื่นๆจำนวน 84000 องค์และส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่บริเวณประกอบพิธี สำหรับพระนางพญาที่พบนั้นน่าจะแบ่งฝังดินไว้ไม่เกินหมื่นองค์ก็เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาในยุคนั้น เหตุผลที่ขุดเจาะครั้งนี้เนื่องจากอาตมา จะสร้างพลับพลาจัตุรมุข มูลค่าว่า 10 ล้านบาทเป็นที่ประดิษฐ์ฐาน 5 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเอกาทศรฐพระสุพรรณกัลยา พระมหาธรรมราชา(พระราชบิดา) และพระวิสุทธกษัตรีย์พระราชมารดา ผู้สร้างวัดแห่งนี้ในสมัยอยุธยาเร็วๆนี้จะทำพิธีเทหล่อพระบรมรูปภายในวัดนางพญา ขนาดเท่าองค์จริง

สำหรับประวัติ พระนางพญา ปี 2514ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ตราธิราชตามจารีตประเพณีโบราณาจารย์ วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญาจ.พิษณุโลก เป็นอภิมหาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มากในยุคนั้น นิมนต์พระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ 108 รูป อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่ผาง, หลวงปู่แหวน, ครูบาเกษม, หลวงพ่อแพ, หลวงพ่อทบ,หลวงพ่อโอด .ใช้เนื้อพระนางพญาผสมจากกรุ วัดนางพญา ที่แตกหักในยุคแรกทำเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ (เข่าโค้ง) และพิมพ์เล็ก (สังฆาฏิ)ยุคนั้นโดยอัญเชิญพระฤกษ์ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้มี”ดวงตราพระฤกษ์” ด้านหลังพระนางพญาทุกองค์ โดยสร้างจำนวน 84,000องค์ เป็นพิมพ์ใหญ่ (เข่าโค้ง) 2,400 องค์ พิมพ์เล็ก (สังฆาฏิ) 6,000องค์ ยุคสมัยพลโท สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาพที่ 3

ประธานฝ่ายฆราวาสและหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ทำพิธีดับเทียนชัยครั้งนั้นจัดสร้างเพื่อหาจตุปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถวัดนางพญา ทำให้พญาปี 14 รุ่นพระอาจารย์ถนอมคนพิษณุโลกให้การยอมรับ เพราะแทนนางพญา 1 ใน 5พระเบญจภาคี (นางพญา-วัดนางฯ)

ความคิดเห็น