เหรียญพระราชอุทัยกวี (หลวงพ่อพุฒ สุทัตโต) วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (ทุ่งแก้ว)
'หลวงพ่อพุฒ สุทัตโต' หรือ 'พระราช อุทัยกวี' อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานีและ เจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (ทุ่งแก้ว) อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง แม้ชื่อเสียงของท่านจะไม่โด่งดังเหมือนพระเกจิอาจารย์ รูปอื่นๆ
พระราชอุทัยกวี มีนามเดิมว่า พุฒ แจ้งอิ่ม เกิดเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2439 ณ บ้านหนองเต่า ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2458 ณ วัดทุ่งแก้ว โดยมีพระสุนทรมุนี (ใจ คังคสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สุทัตโต
หลวงพ่อพุฒให้ความสนใจด้านวิทยาคม ได้ศึกษาจากผู้มีวิทยาคุณอีกจำนวนมาก อาทิ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี, หลวงพ่อสิน วัดหนองเต่า, หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง, หลวงพ่อจิ๋ว วัดโนนเหล็ก, พระวิบูลวชิรธรรม (สว่าง) วัดท่าพุทรา, หลวงพ่อจ้อย วัดอมฤตวารี และพระอุดมธรรมภาณ (สม) วัดทัพทัน เป็นต้น
วันที่ 24 เมษายน 2533 หลวงพ่อพุฒได้มรณภาพอย่างสงบ ภายในกุฏิสุนทรประมุข สิริอายุ 95 พรรษา 75
ปีพ.ศ.2515 หลวงพ่ออั้น อภิปาโล เจ้าอาวาสวัดธรรมโฆษก (โรงโค) ซึ่งเป็นศิษย์ ได้จัดสร้าง 'เหรียญพระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทัตโต)' เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าศาลาหอประชุมวัดธรรมโฆษก เป็นเหรียญรุ่นที่ 5 ของหลวงพ่อพุฒ
ลักษณะของเหรียญคล้ายใบสาเก มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง และทองแดงกะไหล่ทอง
ด้านหน้าเหรียญมีลายกระหนกล้อมรอบ ตรงกลางเหรียญเป็นภาพนูน หลวงพ่อพุฒครึ่งองค์ เหนือขอบเหรียญด้านล่าง มีอักษรไทย เขียนว่า "พระราชอุทัยกวี"
ด้าน หลังเหรียญ ไม่มีขอบและลายกระหนก ตรงกลางเหรียญบรรจุยันต์หัวพิรอด ชั้นในสุดมีอักขระขอม "นะ มหาอุด" ล้อมรอบด้วย อุ อะ ทะ โม ชั้นที่ 2 นะ มะ พะ ทะ และชั้นที่ 3 อะ อุ อะ ทั้งสี่ทิศ เหนือยันต์มีอักษรไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าหอประชุมวัดธรรมโฆษก" ใต้ยันต์ด้านล่างของเหรียญ มีอักษรไทย และเลขไทย เขียนว่า "อุทัยธานี ๒๕๑๕"
เหรียญพระราชอุทัยกวี ปี 15 หลวงพ่อพุฒ ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส ไม่เปิดให้เช่าบูชา สร้างไว้แจกประชาชนที่มาร่วมงานยกช่อฟ้าศาลาหอประชุมวัดธรรมโฆษก เท่านั้น
นับว่าเป็นเหรียญที่มีวัตถุ ประสงค์ในการก่อสร้างดี พระเถราจารย์เด่นปลุกเสก พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้ว คลาดปลอดภัย
เป็นเหรียญที่หายากรุ่นหนึ่ง เนื่องจากชาวบ้านที่มีเหรียญนี้ไว้ในครอบครอง เกิดศรัทธาและหวงแหน
นับเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่าอีกเหรียญหนึ่งที่ควรค่าแก่การสะสม
คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่
ข่าวพระเครื่อง จาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด
'หลวงพ่อพุฒ สุทัตโต' หรือ 'พระราช อุทัยกวี' อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานีและ เจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (ทุ่งแก้ว) อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง แม้ชื่อเสียงของท่านจะไม่โด่งดังเหมือนพระเกจิอาจารย์ รูปอื่นๆ
พระราชอุทัยกวี มีนามเดิมว่า พุฒ แจ้งอิ่ม เกิดเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2439 ณ บ้านหนองเต่า ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2458 ณ วัดทุ่งแก้ว โดยมีพระสุนทรมุนี (ใจ คังคสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สุทัตโต
หลวงพ่อพุฒให้ความสนใจด้านวิทยาคม ได้ศึกษาจากผู้มีวิทยาคุณอีกจำนวนมาก อาทิ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี, หลวงพ่อสิน วัดหนองเต่า, หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง, หลวงพ่อจิ๋ว วัดโนนเหล็ก, พระวิบูลวชิรธรรม (สว่าง) วัดท่าพุทรา, หลวงพ่อจ้อย วัดอมฤตวารี และพระอุดมธรรมภาณ (สม) วัดทัพทัน เป็นต้น
วันที่ 24 เมษายน 2533 หลวงพ่อพุฒได้มรณภาพอย่างสงบ ภายในกุฏิสุนทรประมุข สิริอายุ 95 พรรษา 75
ปีพ.ศ.2515 หลวงพ่ออั้น อภิปาโล เจ้าอาวาสวัดธรรมโฆษก (โรงโค) ซึ่งเป็นศิษย์ ได้จัดสร้าง 'เหรียญพระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทัตโต)' เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าศาลาหอประชุมวัดธรรมโฆษก เป็นเหรียญรุ่นที่ 5 ของหลวงพ่อพุฒ
ลักษณะของเหรียญคล้ายใบสาเก มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดง และทองแดงกะไหล่ทอง
ด้านหน้าเหรียญมีลายกระหนกล้อมรอบ ตรงกลางเหรียญเป็นภาพนูน หลวงพ่อพุฒครึ่งองค์ เหนือขอบเหรียญด้านล่าง มีอักษรไทย เขียนว่า "พระราชอุทัยกวี"
ด้าน หลังเหรียญ ไม่มีขอบและลายกระหนก ตรงกลางเหรียญบรรจุยันต์หัวพิรอด ชั้นในสุดมีอักขระขอม "นะ มหาอุด" ล้อมรอบด้วย อุ อะ ทะ โม ชั้นที่ 2 นะ มะ พะ ทะ และชั้นที่ 3 อะ อุ อะ ทั้งสี่ทิศ เหนือยันต์มีอักษรไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานยกช่อฟ้าหอประชุมวัดธรรมโฆษก" ใต้ยันต์ด้านล่างของเหรียญ มีอักษรไทย และเลขไทย เขียนว่า "อุทัยธานี ๒๕๑๕"
เหรียญพระราชอุทัยกวี ปี 15 หลวงพ่อพุฒ ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส ไม่เปิดให้เช่าบูชา สร้างไว้แจกประชาชนที่มาร่วมงานยกช่อฟ้าศาลาหอประชุมวัดธรรมโฆษก เท่านั้น
นับว่าเป็นเหรียญที่มีวัตถุ ประสงค์ในการก่อสร้างดี พระเถราจารย์เด่นปลุกเสก พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้ว คลาดปลอดภัย
เป็นเหรียญที่หายากรุ่นหนึ่ง เนื่องจากชาวบ้านที่มีเหรียญนี้ไว้ในครอบครอง เกิดศรัทธาและหวงแหน
นับเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่าอีกเหรียญหนึ่งที่ควรค่าแก่การสะสม
คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่
ข่าวพระเครื่อง จาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น