พระร่วงยืนหลังลายผ้า
พระเครื่องสกุล พระร่วงนั้น มีหลายชนิดและขึ้นหลายกรุ เช่น พระร่วงหลังรางปืน กรุสวรรคโลก พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม และพระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า พระร่วงที่พบเห็นจะมี "ศิลปะขอม" เป็นพื้นฐาน และส่วนใหญ่จะพบเห็นในอาณาบริเวณที่ขอมเคยเรืองอำนาจ หรือสถานที่นั้นรับอารยธรรมจากขอมมาแทบทั้งสิ้น รูปร่างหน้าตาของพระร่วงที่พบเห็นจึงมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ องค์พระจะทรงเครื่องศิราภรณ์ และเครื่องประดับอื่นๆ คล้ายเครื่องทรงกษัตริย์ สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นต้นเค้าแห่งพระพุทธรูปทรง เครื่องที่เผยแพร่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากขอมมีความเชื่อเรื่องการรวมร่างของกษัตริย์ กับเทวะหรือลัทธิสมมติเทพ โดยเรียกลักษณะ ดังกล่าวว่า "ทเรศวร" อันหมายถึง การรวมร่างกับพระอิศวร
มี ข้อถกเถียงกันว่า บรรดา "พระร่วง" ที่พบในสยามประเทศนั้น ไม่ได้อยู่ในลัทธิไศวนิกายหรือฮินดู เนื่องจากสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธคติมหายาน ซึ่งนับถือพระโพธิสัตว์ต่างๆ แต่จากเค้าโครงของพระพุทธรูปก็ยังแสดงให้เห็นศิลปะเขมรอย่างเด่นชัด ปรากฏลักษณะน่าเกรงขาม พระเศียรทรง ชีโบ และทรงพัสตราภรณ์งดงาม
ที่ลพบุรี ซึ่งแต่เดิมเรียก "ละโว้" นั้น ก็ปรากฏอิทธิพลของขอมอยู่ทั่วไป เช่น พระปรางค์สามยอด พระปรางค์แขก ศาลสูง หรือศาลเจ้าพ่อพระกาฬ และมีวัดโบราณที่สร้างและปฏิสังขรณ์อย่างต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย ที่เป็นกรุพระเลื่องชื่อ ได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใจกลางเมืองลพบุรี วัดนี้มีของเก่าแก่สวยงามให้ดูมากมาย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "เที่ยวตามทางรถไฟ"
...นอกจาก "พระเครื่อง" แล้ว ลายปูนปั้นรูปหงส์ที่ประดับบนพระปรางค์มีความงดงามมากที่สุด จะหาเปรียบเทียบได้ก็มีแต่ ลายปูนปั้นรูปหงส์ ที่พระปรางค์วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก...
พระเครื่องที่ ขึ้นชื่อลือเลื่องของวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี มีมากมายหลายอย่าง ประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีได้แก่ "พระร่วงยืนหลังลายผ้า" ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระร่วงหลังรางปืน สวรรคโลก ศิลปะเป็นแบบเขมรบายน แตกกรุครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.2430 สมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ดูจากลักษณะขององค์พระ แสดงว่ามีอายุเก่าแก่ประมาณ 900 ปี ซึ่งคงจะสร้างขึ้นเมื่อขอมมีอิทธิพลเหนือสุโขทัยและละโว้
พระร่วงยืนหลังลายผ้า มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ด้านหลังจะเป็นลายผ้าคล้ายกับหลังของพระหูยาน กรุวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี เนื่องจากตอนเทพิมพ์ได้นำผ้ากระสอบกดทับลงไปเพื่อให้หน้าพระติดแม่พิมพ์เต็ม จึงเกิดเป็นรอยผ้าขึ้น ซึ่งแตกต่างจากด้านหลังของพระร่วงหลังรางปืนและพระร่วงนั่งหลังลิ่ม ที่ใช้วัสดุประเภทไม้กดลงไป จึงเกิดเป็นร่องรางปืน แลเห็นเป็นเสี้ยนไม้และรูปลิ่มขึ้น
หลังปีพ.ศ.2430 พระร่วงยืนหลังลายผ้า แตกกรุออกมาอีก 2 ครั้ง คือ ในปีพ.ศ.2455 และ ปีพ.ศ.2458 โดยพบในบริเวณใกล้เคียงกับการแตกกรุครั้งแรก องค์พระที่พบจะมีเนื้อตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเนื้อชินเงินมีจำนวนไม่มากนัก
นอกจากที่วัดพระศรีมหาธาตุแล้ว ยังพบพระที่มีลักษณะใกล้เคียงกันบริเวณที่เรียกว่า วิหารกรอ ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าเป็นที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธมหายานของขอมในอดีต พระเครื่องที่ขุดพบจากกรุวิหารกรอแห่งนี้มีหลายพิมพ์ ที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมาก คือ พระร่วงยืน ซึ่งมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มีชื่อเรียกในวงการพระว่า "พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ"
พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ แตกกรุครั้งแรกๆ พร้อมกับพระร่วงหลังลายผ้า ที่ในราวปีพ.ศ.2430 แต่พบจำนวนน้อย ทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง พุทธลักษณะเป็นศิลปะลพบุรี องค์พระยืนประทานพร ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ และพระกรซ้ายทอดลงสู่เบื้องล่าง เหมือนกับพระร่วงยืนหลังลายผ้า จะต่างกันตรงที่องค์พระไม่มีซุ้มเรือนแก้วครอบอยู่ ลักษณะของสนิมแดงที่ปรากฏบนองค์พระก็เหมือนกัน คือ คราบไขขาวค่อนข้างบาง สนิมไม่แดงเข้มมากนัก ส่วนขนาดนั้น พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่ จะมีขนาดเล็กกว่าพระร่วงยืนหลังลายผ้า คือ กว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูง 6.5 ซ.ม.
ในด้านของค่านิยม ถึงแม้พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ จะเป็นรองพระร่วงยืนหลังลายผ้า และมีสนนราคาถูกกว่า แต่ก็เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง และหาดูหาเช่ายากพอๆ กัน
ต่อมาในปีพ.ศ.2515 มีการสร้างอาคารเรียนบริเวณโรงเรียนช่างกล ซึ่งบริเวณนั้นเคยเป็นวัดเก่าแก่มาก่อน ช่างก่อสร้างได้พบพระร่วงยืนหลังลายผ้าอีกประมาณ 200 องค์ รวมทั้งพระพิมพ์อื่นๆ จำนวนหนึ่ง ปรากฏว่าพระร่วงที่พบบริเวณโรงเรียนช่างกล เป็นพระพิมพ์เดียวกับกรุวัดพระศรีมหาธาตุทุกประการ จะแตกต่างกันตรงที่สนิมขององค์พระจะแดงเข้มกว่า และมีลักษณะบางกว่าเล็กน้อย เรียกกันในวงการว่า พระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุช่างกล ลพบุรี ซึ่งพบทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
อาจกล่าวได้ว่า พระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี เป็นพระเครื่องที่มีพุทธลักษณะงดงาม แสดงให้เห็นถึงศิลปะของขอมอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับพระร่วงแถบสุโขทัย และมีพุทธคุณขึ้นชื่อลือเลื่องทางด้านคงกระพันชาตรี เข้าทำนอง "พระยอดขุนพล" รวมทั้งเชื่อว่าองค์พระจะประทานพร และมีพุทธวาจาศักดิ์สิทธิ์เฉกเดียวกับพระร่วงที่ปรากฏในตำนานอีกด้วยครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
พระเครื่องสกุล พระร่วงนั้น มีหลายชนิดและขึ้นหลายกรุ เช่น พระร่วงหลังรางปืน กรุสวรรคโลก พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม และพระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า พระร่วงที่พบเห็นจะมี "ศิลปะขอม" เป็นพื้นฐาน และส่วนใหญ่จะพบเห็นในอาณาบริเวณที่ขอมเคยเรืองอำนาจ หรือสถานที่นั้นรับอารยธรรมจากขอมมาแทบทั้งสิ้น รูปร่างหน้าตาของพระร่วงที่พบเห็นจึงมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ องค์พระจะทรงเครื่องศิราภรณ์ และเครื่องประดับอื่นๆ คล้ายเครื่องทรงกษัตริย์ สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นต้นเค้าแห่งพระพุทธรูปทรง เครื่องที่เผยแพร่เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากขอมมีความเชื่อเรื่องการรวมร่างของกษัตริย์ กับเทวะหรือลัทธิสมมติเทพ โดยเรียกลักษณะ ดังกล่าวว่า "ทเรศวร" อันหมายถึง การรวมร่างกับพระอิศวร
มี ข้อถกเถียงกันว่า บรรดา "พระร่วง" ที่พบในสยามประเทศนั้น ไม่ได้อยู่ในลัทธิไศวนิกายหรือฮินดู เนื่องจากสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธคติมหายาน ซึ่งนับถือพระโพธิสัตว์ต่างๆ แต่จากเค้าโครงของพระพุทธรูปก็ยังแสดงให้เห็นศิลปะเขมรอย่างเด่นชัด ปรากฏลักษณะน่าเกรงขาม พระเศียรทรง ชีโบ และทรงพัสตราภรณ์งดงาม
ที่ลพบุรี ซึ่งแต่เดิมเรียก "ละโว้" นั้น ก็ปรากฏอิทธิพลของขอมอยู่ทั่วไป เช่น พระปรางค์สามยอด พระปรางค์แขก ศาลสูง หรือศาลเจ้าพ่อพระกาฬ และมีวัดโบราณที่สร้างและปฏิสังขรณ์อย่างต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย ที่เป็นกรุพระเลื่องชื่อ ได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใจกลางเมืองลพบุรี วัดนี้มีของเก่าแก่สวยงามให้ดูมากมาย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "เที่ยวตามทางรถไฟ"
...นอกจาก "พระเครื่อง" แล้ว ลายปูนปั้นรูปหงส์ที่ประดับบนพระปรางค์มีความงดงามมากที่สุด จะหาเปรียบเทียบได้ก็มีแต่ ลายปูนปั้นรูปหงส์ ที่พระปรางค์วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก...
พระเครื่องที่ ขึ้นชื่อลือเลื่องของวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี มีมากมายหลายอย่าง ประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีได้แก่ "พระร่วงยืนหลังลายผ้า" ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระร่วงหลังรางปืน สวรรคโลก ศิลปะเป็นแบบเขมรบายน แตกกรุครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.2430 สมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ดูจากลักษณะขององค์พระ แสดงว่ามีอายุเก่าแก่ประมาณ 900 ปี ซึ่งคงจะสร้างขึ้นเมื่อขอมมีอิทธิพลเหนือสุโขทัยและละโว้
พระร่วงยืนหลังลายผ้า มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก ด้านหลังจะเป็นลายผ้าคล้ายกับหลังของพระหูยาน กรุวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี เนื่องจากตอนเทพิมพ์ได้นำผ้ากระสอบกดทับลงไปเพื่อให้หน้าพระติดแม่พิมพ์เต็ม จึงเกิดเป็นรอยผ้าขึ้น ซึ่งแตกต่างจากด้านหลังของพระร่วงหลังรางปืนและพระร่วงนั่งหลังลิ่ม ที่ใช้วัสดุประเภทไม้กดลงไป จึงเกิดเป็นร่องรางปืน แลเห็นเป็นเสี้ยนไม้และรูปลิ่มขึ้น
หลังปีพ.ศ.2430 พระร่วงยืนหลังลายผ้า แตกกรุออกมาอีก 2 ครั้ง คือ ในปีพ.ศ.2455 และ ปีพ.ศ.2458 โดยพบในบริเวณใกล้เคียงกับการแตกกรุครั้งแรก องค์พระที่พบจะมีเนื้อตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเนื้อชินเงินมีจำนวนไม่มากนัก
นอกจากที่วัดพระศรีมหาธาตุแล้ว ยังพบพระที่มีลักษณะใกล้เคียงกันบริเวณที่เรียกว่า วิหารกรอ ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าเป็นที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธมหายานของขอมในอดีต พระเครื่องที่ขุดพบจากกรุวิหารกรอแห่งนี้มีหลายพิมพ์ ที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมาก คือ พระร่วงยืน ซึ่งมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มีชื่อเรียกในวงการพระว่า "พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ"
พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ แตกกรุครั้งแรกๆ พร้อมกับพระร่วงหลังลายผ้า ที่ในราวปีพ.ศ.2430 แต่พบจำนวนน้อย ทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง พุทธลักษณะเป็นศิลปะลพบุรี องค์พระยืนประทานพร ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ และพระกรซ้ายทอดลงสู่เบื้องล่าง เหมือนกับพระร่วงยืนหลังลายผ้า จะต่างกันตรงที่องค์พระไม่มีซุ้มเรือนแก้วครอบอยู่ ลักษณะของสนิมแดงที่ปรากฏบนองค์พระก็เหมือนกัน คือ คราบไขขาวค่อนข้างบาง สนิมไม่แดงเข้มมากนัก ส่วนขนาดนั้น พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ พิมพ์ใหญ่ จะมีขนาดเล็กกว่าพระร่วงยืนหลังลายผ้า คือ กว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูง 6.5 ซ.ม.
ในด้านของค่านิยม ถึงแม้พระร่วงยืน กรุวิหารกรอ จะเป็นรองพระร่วงยืนหลังลายผ้า และมีสนนราคาถูกกว่า แต่ก็เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง และหาดูหาเช่ายากพอๆ กัน
ต่อมาในปีพ.ศ.2515 มีการสร้างอาคารเรียนบริเวณโรงเรียนช่างกล ซึ่งบริเวณนั้นเคยเป็นวัดเก่าแก่มาก่อน ช่างก่อสร้างได้พบพระร่วงยืนหลังลายผ้าอีกประมาณ 200 องค์ รวมทั้งพระพิมพ์อื่นๆ จำนวนหนึ่ง ปรากฏว่าพระร่วงที่พบบริเวณโรงเรียนช่างกล เป็นพระพิมพ์เดียวกับกรุวัดพระศรีมหาธาตุทุกประการ จะแตกต่างกันตรงที่สนิมขององค์พระจะแดงเข้มกว่า และมีลักษณะบางกว่าเล็กน้อย เรียกกันในวงการว่า พระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุช่างกล ลพบุรี ซึ่งพบทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
อาจกล่าวได้ว่า พระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี เป็นพระเครื่องที่มีพุทธลักษณะงดงาม แสดงให้เห็นถึงศิลปะของขอมอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับพระร่วงแถบสุโขทัย และมีพุทธคุณขึ้นชื่อลือเลื่องทางด้านคงกระพันชาตรี เข้าทำนอง "พระยอดขุนพล" รวมทั้งเชื่อว่าองค์พระจะประทานพร และมีพุทธวาจาศักดิ์สิทธิ์เฉกเดียวกับพระร่วงที่ปรากฏในตำนานอีกด้วยครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น