ใบสั่งหรือยาสั่ง
การทำการค้ามีหลักง่ายๆ อยู่สอง "ส."
ส. แรกคือ "เสนอ"
ส. ที่สองคือ "สนอง"
เรื่องการ "เสนอ" นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย ต้องเดาใจ-คิดแทนลูกค้า
ถ้าเสนอแล้วไม่โดนก็หมดสิทธิ์-ปิดประตูขาย
แต่การ "สนอง" เป็นเรื่องไม่ยาก เพราะลูกค้าเป็นคนอยาก หากหาให้ได้ก็แฮปปี้
คำคมในตอนนี้จึงนำศัพท์ฮิตที่เกี่ยวกับความต้องการของนักสะสมที่อยากให้เซียนช่วยสนองมาเสนอ
คงโดนใจนะครับ
ใบสั่ง : คำสั่งให้ช่วยหาพระ
มีนักสะสมพระประเภทหนึ่งซึ่งปรารถนาอยากได้พระที่ตนสนใจ
แต่ไม่สะดวกผจญภัยตามล่าหาเองด้วยสาเหตุนานัปการ
จึงเล่นง่ายใช้วิธีออก "ใบสั่ง" ให้เซียนขาประจำนำมาสนอง
ใบสั่งในวงการพระเครื่องชนิดนี้จะไม่เหมือนกับ "หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้" อย่างความหมายตามพจนานุกรมของคำว่า "ใบสั่ง" ทั่วๆ ไปในวงการอื่น
ไม่มีการออกเป็นลักษณะเอกสาร ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานยืนยัน
หนำซ้ำ...ไม่ถือเป็นข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น
มีเพียงสัญญาปากเปล่ากับความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างลูกค้ากับเซียนพระ
เพียงเพราะอยากผูกสัมพันธ์ เอาใจลูกค้าที่เคยคบหา-ซื้อขายกัน
เผื่อจะได้มีโอกาสขายพระฟันกำไร ดีกว่านั่งรอใครก็ไม่รู้อยู่แต่เพียงในร้าน
แน่นอนว่าใบสั่งนี้มักจะสั่งในช่วงที่ "ผู้จะซื้อ" เกิดอาการ "ฟิต" เป็นที่ตั้ง
แปลว่าต้อง...ทันใจ
เหมือนสั่งอาหารตอนหิว...ต้องให้ไว เสิร์ฟไม่ทันเดี๋ยวท่านอารมณ์เสีย
และมักสั่งในช่วงที่สถานะทางการเงิน-การคลังของคุณลูกค้ามีความคล่องตัวสูง พร้อมที่จะจ่าย
แปลว่าต้องให้ได้...ทันเวลา
ถ้าช้าเกิน-เงินของพี่เค้าจะไปเที่ยว...เดี๋ยวจะอดขาย
ในบางรายที่เป็นนักเล่นพระกึ่งพุทธพาณิชย์ ยึดติดแต่เรื่องมูลค่า
ก็มักออกใบสั่งในภาวะที่พระนั้นๆ อยู่ในกระแส เป็นช่วงขาขึ้น-คึกคัก มีแนวโน้มว่าจะมาแรง...ได้อีก
แปลว่าต้อง...ทันกระแส
หากกระแสแปรเปลี่ยน...ใบสั่งก็เปลี่ยนแปลง
บ่อยไปที่มีใบสั่งจากลูกค้าขาใหญ่ใจเติบชนิดที่ว่า "แพงไม่กลัว...กลัวไม่สวย"
แต่ความแพงและความสวยของแต่ละท่านไม่เท่ากัน
อีกนักสะสมแนวเสี่ยสั่งลุยคุยโตบางท่านก็สั่งแบบเหมาๆ "มีเท่าไหร่...เอาหมด"
ก็ดันลืมถามย้ำว่า "เท่าไหร่" ของเฮียน่ะ...มันเท่าไหร่กันแน่...กี่องค์กันจ๊ะ
แล้วไอ้ที่ว่า "เอาหมด" น่ะ...หมดเขตจะเอาเมื่อไหร่
บางเซียนที่เพิ่งไต่เต้าจะหาพระด้วยวิธีจับเสือมือเปล่า แบบที่เคยเล่าในศัพท์ "ไทเกอร์"
โดยตีสนิทติดต่อขอหิ้วพระจากเซียนทั้งหลายเพื่อนำไปขายตามใบสั่ง...แต่ตังค์ยังไม่จ่าย
หากขายไม่สำเร็จ ยังกลับไปคืนได้...สบายตัว
บ้างเลยแอบอ้างมั่วๆ ว่ามีใบสั่ง ทั้งที่ความจริงก็แค่อยากเก้อพระไปเร่ขาย
การทำแบบนี้บ่อยๆ ก็ดูไม่ค่อยดี ศักดิ์ศรีเซียนเค้าไม่ทำ หรือทำก็ไม่เก้อซี้ซั้ว
แต่เซียนนักซื้อมือไวใจถึงที่ยึดถือสัจจะบางท่าน ก็ไม่ทันทบทวนหลังได้รับใบสั่ง
จึงจ่ายตังค์สั่งต่อ-ซื้อแหลกโดยไม่ยั้ง
ยิ่งหากพระนั้นหายาก หรือเป็นของรักจากรังใหญ่
เมื่อปะทะกันแล้วจะป๊อดปล่อยหลุดมือ-ไม่ใจ ก็ผิดวิสัยเซียนตัวจริง...ต้องลุย!
หาไม่...เซียนอื่นที่ได้ใบสั่งเหมือนกัน จะพานปาดหน้าเอาไปกินซะก่อน
แต่คำพระก็สอนว่าสรรพสิ่ง...ไม่นิ่ง-แน่นอน
ซื้อมาแล้วแต่เสี่ยเค้าถอนคำสั่งลุย ยกเลิกหลบเลี่ยงไม่เอา ก็อ่วม...จมทุน
ต่อให้เป็นพระหายากราคาแพง แต่คนรุ่นใหม่ไม่แย่ง-อยากได้ เพราะอาจไม่รู้จัก...ไม่นิยม หรือแม้จะยอดนิยมอย่างพระสมเด็จ
จะมีเศรษฐีกี่รายที่ใจรักอยากได้
"ใบสั่ง" บางครั้งจึงคล้าย "ยาสั่ง" ให้ระวัง
ตั้งใจจะ ส. "สนอง" แท้ๆ เลยต้องมาลงเอยที่ ส.ที่สาม
"เสร็จสนิท" เหงาเลยพี่...แงๆๆ
คอลัมน์ คำคมคารมเซียน
ส. แรกคือ "เสนอ"
ส. ที่สองคือ "สนอง"
เรื่องการ "เสนอ" นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย ต้องเดาใจ-คิดแทนลูกค้า
ถ้าเสนอแล้วไม่โดนก็หมดสิทธิ์-ปิดประตูขาย
แต่การ "สนอง" เป็นเรื่องไม่ยาก เพราะลูกค้าเป็นคนอยาก หากหาให้ได้ก็แฮปปี้
คำคมในตอนนี้จึงนำศัพท์ฮิตที่เกี่ยวกับความต้องการของนักสะสมที่อยากให้เซียนช่วยสนองมาเสนอ
คงโดนใจนะครับ
ใบสั่ง : คำสั่งให้ช่วยหาพระ
มีนักสะสมพระประเภทหนึ่งซึ่งปรารถนาอยากได้พระที่ตนสนใจ
แต่ไม่สะดวกผจญภัยตามล่าหาเองด้วยสาเหตุนานัปการ
จึงเล่นง่ายใช้วิธีออก "ใบสั่ง" ให้เซียนขาประจำนำมาสนอง
ใบสั่งในวงการพระเครื่องชนิดนี้จะไม่เหมือนกับ "หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้" อย่างความหมายตามพจนานุกรมของคำว่า "ใบสั่ง" ทั่วๆ ไปในวงการอื่น
ไม่มีการออกเป็นลักษณะเอกสาร ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานยืนยัน
หนำซ้ำ...ไม่ถือเป็นข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น
มีเพียงสัญญาปากเปล่ากับความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างลูกค้ากับเซียนพระ
เพียงเพราะอยากผูกสัมพันธ์ เอาใจลูกค้าที่เคยคบหา-ซื้อขายกัน
เผื่อจะได้มีโอกาสขายพระฟันกำไร ดีกว่านั่งรอใครก็ไม่รู้อยู่แต่เพียงในร้าน
แน่นอนว่าใบสั่งนี้มักจะสั่งในช่วงที่ "ผู้จะซื้อ" เกิดอาการ "ฟิต" เป็นที่ตั้ง
แปลว่าต้อง...ทันใจ
เหมือนสั่งอาหารตอนหิว...ต้องให้ไว เสิร์ฟไม่ทันเดี๋ยวท่านอารมณ์เสีย
และมักสั่งในช่วงที่สถานะทางการเงิน-การคลังของคุณลูกค้ามีความคล่องตัวสูง พร้อมที่จะจ่าย
แปลว่าต้องให้ได้...ทันเวลา
ถ้าช้าเกิน-เงินของพี่เค้าจะไปเที่ยว...เดี๋ยวจะอดขาย
ในบางรายที่เป็นนักเล่นพระกึ่งพุทธพาณิชย์ ยึดติดแต่เรื่องมูลค่า
ก็มักออกใบสั่งในภาวะที่พระนั้นๆ อยู่ในกระแส เป็นช่วงขาขึ้น-คึกคัก มีแนวโน้มว่าจะมาแรง...ได้อีก
แปลว่าต้อง...ทันกระแส
หากกระแสแปรเปลี่ยน...ใบสั่งก็เปลี่ยนแปลง
บ่อยไปที่มีใบสั่งจากลูกค้าขาใหญ่ใจเติบชนิดที่ว่า "แพงไม่กลัว...กลัวไม่สวย"
แต่ความแพงและความสวยของแต่ละท่านไม่เท่ากัน
อีกนักสะสมแนวเสี่ยสั่งลุยคุยโตบางท่านก็สั่งแบบเหมาๆ "มีเท่าไหร่...เอาหมด"
ก็ดันลืมถามย้ำว่า "เท่าไหร่" ของเฮียน่ะ...มันเท่าไหร่กันแน่...กี่องค์กันจ๊ะ
แล้วไอ้ที่ว่า "เอาหมด" น่ะ...หมดเขตจะเอาเมื่อไหร่
บางเซียนที่เพิ่งไต่เต้าจะหาพระด้วยวิธีจับเสือมือเปล่า แบบที่เคยเล่าในศัพท์ "ไทเกอร์"
โดยตีสนิทติดต่อขอหิ้วพระจากเซียนทั้งหลายเพื่อนำไปขายตามใบสั่ง...แต่ตังค์ยังไม่จ่าย
หากขายไม่สำเร็จ ยังกลับไปคืนได้...สบายตัว
บ้างเลยแอบอ้างมั่วๆ ว่ามีใบสั่ง ทั้งที่ความจริงก็แค่อยากเก้อพระไปเร่ขาย
การทำแบบนี้บ่อยๆ ก็ดูไม่ค่อยดี ศักดิ์ศรีเซียนเค้าไม่ทำ หรือทำก็ไม่เก้อซี้ซั้ว
แต่เซียนนักซื้อมือไวใจถึงที่ยึดถือสัจจะบางท่าน ก็ไม่ทันทบทวนหลังได้รับใบสั่ง
จึงจ่ายตังค์สั่งต่อ-ซื้อแหลกโดยไม่ยั้ง
ยิ่งหากพระนั้นหายาก หรือเป็นของรักจากรังใหญ่
เมื่อปะทะกันแล้วจะป๊อดปล่อยหลุดมือ-ไม่ใจ ก็ผิดวิสัยเซียนตัวจริง...ต้องลุย!
หาไม่...เซียนอื่นที่ได้ใบสั่งเหมือนกัน จะพานปาดหน้าเอาไปกินซะก่อน
แต่คำพระก็สอนว่าสรรพสิ่ง...ไม่นิ่ง-แน่นอน
ซื้อมาแล้วแต่เสี่ยเค้าถอนคำสั่งลุย ยกเลิกหลบเลี่ยงไม่เอา ก็อ่วม...จมทุน
ต่อให้เป็นพระหายากราคาแพง แต่คนรุ่นใหม่ไม่แย่ง-อยากได้ เพราะอาจไม่รู้จัก...ไม่นิยม หรือแม้จะยอดนิยมอย่างพระสมเด็จ
จะมีเศรษฐีกี่รายที่ใจรักอยากได้
"ใบสั่ง" บางครั้งจึงคล้าย "ยาสั่ง" ให้ระวัง
ตั้งใจจะ ส. "สนอง" แท้ๆ เลยต้องมาลงเอยที่ ส.ที่สาม
"เสร็จสนิท" เหงาเลยพี่...แงๆๆ
คอลัมน์ คำคมคารมเซียน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น