เซียนเปี๊ยก ท่าซุง รู้ลึก พระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
"การแขวนพระเครื่อง นอกจากใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว พระเครื่องยังช่วยเตือนสติให้ปฏิบัติแต่สิ่งดีงาม ไม่ให้กระทำอะไรที่ผิดศีลธรรม การแขวนพระก็ เหมือนกับการไปเข้าวัด ต่างกันตรงที่นำติดตัวไปเท่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของความดี เพราะคนที่เข้าวัดถือว่าเป็นคนดี คนแขวนพระก็เช่นกัน ต้องการแสดงถึงความดีงาม ทำดีย่อม ได้ดี"
นี่เป็นความเชื่อส่วนตัวของ "ปภาวิชญ์ บุษวะดี" หรือที่วงการทั่วไปรู้จักกันในนาม "ส.จ.เปี๊ยก" หนุ่มใหญ่นิสัยดี วัย 47 ปี
นายปภาวิชญ์ หรือ 'เซียนเปี๊ยก' ยังเป็นประธานชมรมพระเครื่องเมืองอุทัยธานี
เซียนเปี๊ยก เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านท่าซุง เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลุมเข้า มิตรภาพที่ 117 จบ ชั้นมัธยมศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ก่อนศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
จากนั้น เซียนเปี๊ยกได้เดินตามรอยบิดา รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 ต.ท่าซุง ก่อนมุ่งเบนเข็มสู่แวดวงการเมืองระดับท้องถิ่น พ.ศ.2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) อุทัยธานี พื้นที่ อ.เมือง เขต 2 ทุกสมัยตลอดมา
"พ่อแม่ของผมปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ทุกวันพระหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จะพาผมเข้าวัดทำบุญ และให้พระหลวงปู่ศุขแขวนคอผมตั้งแต่เล็กจนโต ผมจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาวัตถุมงคล โดยเฉพาะของหลวงปู่ศุข สามารถปกป้องคุ้มครองชีวิตให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้"
เซียนเปี๊ยกบอกเล่าว่า "ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องจากหนังสือพระด้วยตนเอง หมั่นดู หมั่นจำ จนมั่นใจ สามารถแยกเอกลักษณ์ของพระและจำตำหนิได้ จากนั้นได้หันมาศึกษากับเซียนพระรุ่นพี่ ทั้งในท้องถิ่นและระดับประเทศ ประกอบกับงานที่ทำประจำได้พบกับคนจำนวนมาก จึงได้เห็นพระแท้และศึกษาจนเข้าใจ เกือบ 20 ปีที่คลุกคลีอยู่ในวงการพระเครื่อง ซึ่งนักนิยมสะสมพระเครื่องจังหวัดอุทัยธานี ให้ความนับถือ ศรัทธาและยกย่องให้เป็นประธานชมรมพระเครื่องเมืองอุทัยธานี"
สำหรับ พระเครื่องที่ห้อยคอตลอดเวลา เซียนเปี๊ยกบอกว่า พระเครื่องเบอร์หนึ่งในใจ ต้องเป็นพระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ได้ยินชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านมาตั้งแต่เด็ก นำมาแขวนคอเป็นประจำ ประสบการณ์ได้เกิดขึ้นกับชีวิตของตนมาโชกโชน หลายครั้งที่พุทธคุณของวัตถุมงคลหลวงปู่ศุขช่วยให้รอดพ้นจากภยันตราย
"ทุกวันนี้ พระเครื่องที่แขวนคอของผมมีอยู่หลายองค์ด้วยกัน ล้วนเป็นพระที่ผมนับถือและเชื่อมั่น คือ พระหลวงปู่ศุข พิมพ์ประภามณฑล วัดปากคลองมะขามเฒ่า, รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อพรหม ก้นระฆัง วัดช่องแค, หลวงปู่ทวด พิมพ์เตารีด วัดช้างให้, หลวงพ่อเงิน พิมพ์จอบใหญ่ วัดบางคลาน และพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม รวม 7 องค์"
เซียนเปี๊ยก ในฐานะประธานชมรมพระเครื่องจังหวัดอุทัยธานี กล่าวว่า ชมรมพระเครื่องเมืองอุทัยธานี เปิดกว้างให้กับผู้ที่มีใจรักในพระเครื่องวัตถุมงคล ขอเชิญชวน ผู้สนใจเข้ามาเป็นสมาชิกกันให้มาก เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และร่วมกันจรรโลงอนุรักษ์พระเครื่องของวงการให้คงอยู่สืบไป
ในปัจจุบัน ความนิยมพระเครื่องของเด็กรุ่นใหม่เริ่มที่จะมีสูงมากขึ้น ถือว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สามารถหาความรู้จากนักสะสมรุ่นพี่ได้ดี หรือจะหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ที่คอยให้ความรู้หลากหลาย อันเป็นสิ่งการันตีได้ว่า อนาคตของวงการพระเครื่องสดใสอย่างแน่นอน
"ผมมองว่า ผู้ที่จะอยู่ในวงการพระเครื่องได้อย่างยาวนานนั้น จะต้องได้รับความเคารพ นับถือจากพี่น้องเรื่องความซื่อสัตย์ของบรรดาเซียนพระเป็นสำคัญ หากนำเอาพระเก๊ หรือพระลอกเลียนแบบเข้ามาสู่วงการ จะทำให้วงการพระถดถอย ขาดความน่าเชื่อถือ เชื่อว่าคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการพระเครื่องนี้ต่างก็พยายามช่วยกันประคับ ประคองไม่ให้วงการนี้ตกต่ำ อีกทั้งพยายามพัฒนาวงการพระเครื่องให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง"
"กล่าวได้ว่า กิจกรรมของชมรมพระเครื่องจังหวัดอุทัยธานี เป็นการน้อมนำพระพุทธศาสนา ที่ให้คนสนใจพระเครื่องพระบูชาสู่ศรัทธาพระรัตนตรัย ขยายผลสู่การเผยแพร่เกียรติคุณบุคคลเด่น ให้เกิดความรักแหล่งประวัติศาสตร์ ภาคภูมิใจในท้องถิ่นที่ลึกซึ้ง อีกหนึ่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของภูมิภาค" เซียนเปี๊ยกกล่าวทิ้งท้าย
"การแขวนพระเครื่อง นอกจากใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว พระเครื่องยังช่วยเตือนสติให้ปฏิบัติแต่สิ่งดีงาม ไม่ให้กระทำอะไรที่ผิดศีลธรรม การแขวนพระก็ เหมือนกับการไปเข้าวัด ต่างกันตรงที่นำติดตัวไปเท่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของความดี เพราะคนที่เข้าวัดถือว่าเป็นคนดี คนแขวนพระก็เช่นกัน ต้องการแสดงถึงความดีงาม ทำดีย่อม ได้ดี"
นี่เป็นความเชื่อส่วนตัวของ "ปภาวิชญ์ บุษวะดี" หรือที่วงการทั่วไปรู้จักกันในนาม "ส.จ.เปี๊ยก" หนุ่มใหญ่นิสัยดี วัย 47 ปี
นายปภาวิชญ์ หรือ 'เซียนเปี๊ยก' ยังเป็นประธานชมรมพระเครื่องเมืองอุทัยธานี
เซียนเปี๊ยก เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านท่าซุง เรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหลุมเข้า มิตรภาพที่ 117 จบ ชั้นมัธยมศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ก่อนศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
จากนั้น เซียนเปี๊ยกได้เดินตามรอยบิดา รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 ต.ท่าซุง ก่อนมุ่งเบนเข็มสู่แวดวงการเมืองระดับท้องถิ่น พ.ศ.2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) อุทัยธานี พื้นที่ อ.เมือง เขต 2 ทุกสมัยตลอดมา
"พ่อแม่ของผมปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ทุกวันพระหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จะพาผมเข้าวัดทำบุญ และให้พระหลวงปู่ศุขแขวนคอผมตั้งแต่เล็กจนโต ผมจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาวัตถุมงคล โดยเฉพาะของหลวงปู่ศุข สามารถปกป้องคุ้มครองชีวิตให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้"
เซียนเปี๊ยกบอกเล่าว่า "ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องจากหนังสือพระด้วยตนเอง หมั่นดู หมั่นจำ จนมั่นใจ สามารถแยกเอกลักษณ์ของพระและจำตำหนิได้ จากนั้นได้หันมาศึกษากับเซียนพระรุ่นพี่ ทั้งในท้องถิ่นและระดับประเทศ ประกอบกับงานที่ทำประจำได้พบกับคนจำนวนมาก จึงได้เห็นพระแท้และศึกษาจนเข้าใจ เกือบ 20 ปีที่คลุกคลีอยู่ในวงการพระเครื่อง ซึ่งนักนิยมสะสมพระเครื่องจังหวัดอุทัยธานี ให้ความนับถือ ศรัทธาและยกย่องให้เป็นประธานชมรมพระเครื่องเมืองอุทัยธานี"
สำหรับ พระเครื่องที่ห้อยคอตลอดเวลา เซียนเปี๊ยกบอกว่า พระเครื่องเบอร์หนึ่งในใจ ต้องเป็นพระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ได้ยินชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านมาตั้งแต่เด็ก นำมาแขวนคอเป็นประจำ ประสบการณ์ได้เกิดขึ้นกับชีวิตของตนมาโชกโชน หลายครั้งที่พุทธคุณของวัตถุมงคลหลวงปู่ศุขช่วยให้รอดพ้นจากภยันตราย
"ทุกวันนี้ พระเครื่องที่แขวนคอของผมมีอยู่หลายองค์ด้วยกัน ล้วนเป็นพระที่ผมนับถือและเชื่อมั่น คือ พระหลวงปู่ศุข พิมพ์ประภามณฑล วัดปากคลองมะขามเฒ่า, รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อพรหม ก้นระฆัง วัดช่องแค, หลวงปู่ทวด พิมพ์เตารีด วัดช้างให้, หลวงพ่อเงิน พิมพ์จอบใหญ่ วัดบางคลาน และพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม รวม 7 องค์"
เซียนเปี๊ยก ในฐานะประธานชมรมพระเครื่องจังหวัดอุทัยธานี กล่าวว่า ชมรมพระเครื่องเมืองอุทัยธานี เปิดกว้างให้กับผู้ที่มีใจรักในพระเครื่องวัตถุมงคล ขอเชิญชวน ผู้สนใจเข้ามาเป็นสมาชิกกันให้มาก เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และร่วมกันจรรโลงอนุรักษ์พระเครื่องของวงการให้คงอยู่สืบไป
ในปัจจุบัน ความนิยมพระเครื่องของเด็กรุ่นใหม่เริ่มที่จะมีสูงมากขึ้น ถือว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สามารถหาความรู้จากนักสะสมรุ่นพี่ได้ดี หรือจะหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ที่คอยให้ความรู้หลากหลาย อันเป็นสิ่งการันตีได้ว่า อนาคตของวงการพระเครื่องสดใสอย่างแน่นอน
"ผมมองว่า ผู้ที่จะอยู่ในวงการพระเครื่องได้อย่างยาวนานนั้น จะต้องได้รับความเคารพ นับถือจากพี่น้องเรื่องความซื่อสัตย์ของบรรดาเซียนพระเป็นสำคัญ หากนำเอาพระเก๊ หรือพระลอกเลียนแบบเข้ามาสู่วงการ จะทำให้วงการพระถดถอย ขาดความน่าเชื่อถือ เชื่อว่าคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการพระเครื่องนี้ต่างก็พยายามช่วยกันประคับ ประคองไม่ให้วงการนี้ตกต่ำ อีกทั้งพยายามพัฒนาวงการพระเครื่องให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง"
"กล่าวได้ว่า กิจกรรมของชมรมพระเครื่องจังหวัดอุทัยธานี เป็นการน้อมนำพระพุทธศาสนา ที่ให้คนสนใจพระเครื่องพระบูชาสู่ศรัทธาพระรัตนตรัย ขยายผลสู่การเผยแพร่เกียรติคุณบุคคลเด่น ให้เกิดความรักแหล่งประวัติศาสตร์ ภาคภูมิใจในท้องถิ่นที่ลึกซึ้ง อีกหนึ่งยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของภูมิภาค" เซียนเปี๊ยกกล่าวทิ้งท้าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น