พระนาคปรก กรุป่าไม้แดง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพิมพ์นาคปรกกันอีกสักกรุ ซึ่งพระของกรุนี้อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักกันนัก เนื่องมาจากจำนวนพระที่ ขึ้นจากกรุนั้นมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งอาจจะชำรุดตั้งแต่อยู่ในกรุเสียมาก จนเหลือพระที่สมบูรณ์ไม่มากนัก พระนาคปรกกรุนี้คือ พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
พระนาคปรก กรุป่าไม้แดงนี้ ขุดพบในปีพ.ศ.2500 พระที่พบเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด เป็นพระนาคปรกที่สมบูรณ์ประมาณ 40-50 องค์ นอกจากนั้นยังพบพระพิมพ์อื่นๆ อีก เช่น พระร่วงยืน พุทธลักษณะคล้ายๆ กับของลพบุรี ด้านหลังเป็นลายผ้า และพระร่วงนั่ง และพระสังกัจจายน์อีกเล็กน้อย ลักษณะสนิมแดงของพระกรุนี้เป็นพระที่มีสนิมแดงเข้ม อมน้ำตาล มีไขขาวปกคลุมตลอดทั้งองค์ เมื่อล้างไขขาวออกจะเห็นผิวสนิมแดงสวยงาม จำนวนพระทั้งหมดที่พบนั้น มีไม่มากนัก ที่โดดเด่นมากกว่าใครก็คือพระพิมพ์นาคปรกครับ
พระนาคปรกกรุป่าไม้แดงเป็นพระศิลปะแบบลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรีกับจังหวัดลพบุรีมีอาณาเขตติดต่อกัน ซึ่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19 ขอมเรืองอำนาจมาก และแผ่อิทธิพลเข้ามาครอบคลุมบริเวณประเทศไทยในสมัยนั้น ดังเราจะเห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่างๆ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง ต่างก็รับอิทธิพลศิลปะขอมเข้ามาไว้เป็นอย่างมาก
พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง องค์พระเป็นพระปางสมาธิ ทรงเครื่อง ทรงเทริดแบบขนนก พาหุรัด แบบลพบุรี ตัวปรกเป็นแบบเศียรนาค 7 เศียร ประทับนั่งบนขนดนาค 2 ชั้น ในองค์ที่สมบูรณ์จะเห็นฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานกลีบบัวเล็บช้างตามแบบขอม ด้านหลังองค์พระมักเป็นแบบหลังตัน และหลังลายผ้า สันนิษฐานว่าพระกรุนี้น่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ประมาณนี้ครับ พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง เป็นพระเครื่องที่มีพุทธศิลปะที่สวยงามกรุหนึ่ง ที่ไม่แพ้กรุใด อีกทั้งเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็สวยงาม ประเภทเนื้อจัด จึงเป็นพระที่น่าสะสม แต่ก็หายาก เนื่องจากจำนวนน้อยและเก็บกันเงียบ จึงทำให้ไม่มีพระออกมาหมุนเวียนเลย และอาจจะทำให้ไม่ค่อยมีผู้กล่าวถึงพระกรุนี้กันนักครับ
ในด้านพุทธคุณ เด่นทางอยู่ยงคงกระ พันชาตรี และแคล้วคลาด ผมเห็นว่าพระกรุนี้ อาจจะถูกลืม จึงได้นำมาพูดถึง พร้อมกับนำรูปพระนาคปรก กรุป่าไม้แดงมาให้ได้ชมกัน เผื่อปะเหมาะเคราะห์ดีไปพบตามบ้านญาติพี่น้องของท่านเอง ก็อาจจะขอแบ่งมาไว้บูชากันได้ครับ
ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
สวัสดี ครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุพิมพ์นาคปรกกันอีกสักกรุ ซึ่งพระของกรุนี้อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักกันนัก เนื่องมาจากจำนวนพระที่ ขึ้นจากกรุนั้นมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งอาจจะชำรุดตั้งแต่อยู่ในกรุเสียมาก จนเหลือพระที่สมบูรณ์ไม่มากนัก พระนาคปรกกรุนี้คือ พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
พระนาคปรก กรุป่าไม้แดงนี้ ขุดพบในปีพ.ศ.2500 พระที่พบเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด เป็นพระนาคปรกที่สมบูรณ์ประมาณ 40-50 องค์ นอกจากนั้นยังพบพระพิมพ์อื่นๆ อีก เช่น พระร่วงยืน พุทธลักษณะคล้ายๆ กับของลพบุรี ด้านหลังเป็นลายผ้า และพระร่วงนั่ง และพระสังกัจจายน์อีกเล็กน้อย ลักษณะสนิมแดงของพระกรุนี้เป็นพระที่มีสนิมแดงเข้ม อมน้ำตาล มีไขขาวปกคลุมตลอดทั้งองค์ เมื่อล้างไขขาวออกจะเห็นผิวสนิมแดงสวยงาม จำนวนพระทั้งหมดที่พบนั้น มีไม่มากนัก ที่โดดเด่นมากกว่าใครก็คือพระพิมพ์นาคปรกครับ
พระนาคปรกกรุป่าไม้แดงเป็นพระศิลปะแบบลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรีกับจังหวัดลพบุรีมีอาณาเขตติดต่อกัน ซึ่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19 ขอมเรืองอำนาจมาก และแผ่อิทธิพลเข้ามาครอบคลุมบริเวณประเทศไทยในสมัยนั้น ดังเราจะเห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่างๆ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง ต่างก็รับอิทธิพลศิลปะขอมเข้ามาไว้เป็นอย่างมาก
พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง องค์พระเป็นพระปางสมาธิ ทรงเครื่อง ทรงเทริดแบบขนนก พาหุรัด แบบลพบุรี ตัวปรกเป็นแบบเศียรนาค 7 เศียร ประทับนั่งบนขนดนาค 2 ชั้น ในองค์ที่สมบูรณ์จะเห็นฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานกลีบบัวเล็บช้างตามแบบขอม ด้านหลังองค์พระมักเป็นแบบหลังตัน และหลังลายผ้า สันนิษฐานว่าพระกรุนี้น่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ประมาณนี้ครับ พระนาคปรกกรุป่าไม้แดง เป็นพระเครื่องที่มีพุทธศิลปะที่สวยงามกรุหนึ่ง ที่ไม่แพ้กรุใด อีกทั้งเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงก็สวยงาม ประเภทเนื้อจัด จึงเป็นพระที่น่าสะสม แต่ก็หายาก เนื่องจากจำนวนน้อยและเก็บกันเงียบ จึงทำให้ไม่มีพระออกมาหมุนเวียนเลย และอาจจะทำให้ไม่ค่อยมีผู้กล่าวถึงพระกรุนี้กันนักครับ
ในด้านพุทธคุณ เด่นทางอยู่ยงคงกระ พันชาตรี และแคล้วคลาด ผมเห็นว่าพระกรุนี้ อาจจะถูกลืม จึงได้นำมาพูดถึง พร้อมกับนำรูปพระนาคปรก กรุป่าไม้แดงมาให้ได้ชมกัน เผื่อปะเหมาะเคราะห์ดีไปพบตามบ้านญาติพี่น้องของท่านเอง ก็อาจจะขอแบ่งมาไว้บูชากันได้ครับ
ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น