พระกริ่งคชวัตร อีกหนึ่งพระเครื่อง วัดบวรนิเวศวิหาร
นอกเหนือจาก 'พระกริ่งปวเรศ' ต้นตำรับพระกริ่งอัน ลือชื่อของไทยแล้ว วัดบวรนิเวศวิหารยังได้มีพระกริ่งอีกหลายรุ่นที่จะจัดสร้างในโอกาสสำคัญๆ โดยจัดสร้างตามแบบโบราณตามกรรมวิธีดั้งเดิมทุกประการ ล้วนทรงพุทธคุณล้ำเลิศและเป็นที่นิยมแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง
และครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกไว้ในประวัติ ศาสตร์การสร้างพระเครื่องของ วัดบวรฯ ก็คือ "พระกริ่งคชวัตร" ซึ่งสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2546 ในมหามงคลวโรกาสทรงเจริญพระชันษา 90 ปี โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก ประทานอนุญาตให้จำลองจากพระพุทธรูปศิลปะ เนปาล ซึ่งเก่าแก่นับร้อยปีและงดงามเป็นเลิศที่พุทธ ศาสนิกชนชาวเนปาลถวายเมื่อครั้งเสด็จประเทศเนปาลในปี พ.ศ.2528 และได้ประทานอนุญาตให้เชิญนามสกุลในพระ องค์ท่าน คือ 'คชวัตร' ถวายเป็นนามพระกริ่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่นามสกุลในพระองค์ท่านสืบไป
พระกริ่งคชวัตรรุ่นแรกนี้ นอกจากความงดงามอันเป็นเลิศแล้ว ยังสูงส่งด้วยพุทธานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดมีไว้บูชาจะแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน จึงเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายในพระองค์ท่าน
ปัจจุบันอย่าว่าแต่หาเช่าหาชมยากยิ่ง
ในปี พ.ศ.2556 อันเป็นมหามงคลวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงเจริญพระชันษา 100 ปี ทางสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯจึงดำริจัดสร้าง "พระกริ่งคชวัตร รุ่น 2" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยได้รับประทานอนุญาตให้เชิญ 'ชนวนพระกริ่งคชวัตรรุ่นแรก' รวมทั้งชนวนพระกริ่งของวัดบวรนิเวศวิหารรุ่นต่างๆ เช่น ชนวนพระกริ่งปวเรศ ชนวนพระกริ่งบัวรอบ ชนวนพระกริ่งบวรรังษี ชนวนพระกริ่งไพรีพินาศ ชนวนพระกริ่ง 7 รอบ ชนวนพระบูชา ภปร. ชนวนพระบูชาพระชินสีห์ ชนวนพระบูชาพระศาสดา ชนวนครอบน้ำพระพุทธมนต์รุ่นต่างๆ เป็นต้น และชนวนแผ่นโลหะจารของพระเกจิจาก ทั่วประเทศที่ทรงรวบรวมไว้ 108 องค์ มาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้าง และใช้สูตรผสมเต็มสูตรตามแบบการสร้างพระกริ่งของวัดบวรนิเวศวิหารที่สืบทอด กันมาแต่โบราณ
ภายในองค์พระกริ่งทุกองค์ได้บรรจุเส้นพระเกศาและผงมวลสารที่พระองค์ ประทาน ผสมทุกรายการ พร้อมกันนี้พระองค์ท่านประทานอนุญาตให้เชิญรูปตราสัญลักษณ์พระนามย่อ 'ญสส.' มาประดิษฐานเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
รายได้จากการรับบริจาคบูชา นำไปดำเนินการเพื่อทูลเกล้าถวายเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ทรงใช้บำเพ็ญพระกุศลตามพระอัธยาศัย, เพื่อสร้างพระประธานประจำอุโบสถวัดในพระอุปถัมภ์จำนวน 10 วัด และเพื่อสร้างมหาวิหารพระพุทธอุดมมงคลเวฬุวัน วัดเวฬุวัน อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
พระกริ่งคชวัตร รุ่น 2 ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะ เนื้อทองเหลือง ในการนี้ได้จัดสร้างพระชัยวัฒน์ ครอบน้ำพระพุทธมนต์ พระบูชา และพระพุทธพิมพ์สมเด็จพิมพ์ใหญ่ แบบโบราณ โดยจัดสร้างจำนวนจำกัด ประกอบพิธีเททองประมาณเดือนสิงหาคม พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 23 กันยายน 2556 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 15.19 น.
"พระกริ่งคชวัตร รุ่น 2" นับเป็นอีกครั้งในประวัติศาสตร์พระเครื่อง พระบูชาของวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการฉลองพระชันษา 100 ปี ของเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก
พุทธศาสนิกชนไม่ควรพลาดครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
นอกเหนือจาก 'พระกริ่งปวเรศ' ต้นตำรับพระกริ่งอัน ลือชื่อของไทยแล้ว วัดบวรนิเวศวิหารยังได้มีพระกริ่งอีกหลายรุ่นที่จะจัดสร้างในโอกาสสำคัญๆ โดยจัดสร้างตามแบบโบราณตามกรรมวิธีดั้งเดิมทุกประการ ล้วนทรงพุทธคุณล้ำเลิศและเป็นที่นิยมแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง
และครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกไว้ในประวัติ ศาสตร์การสร้างพระเครื่องของ วัดบวรฯ ก็คือ "พระกริ่งคชวัตร" ซึ่งสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2546 ในมหามงคลวโรกาสทรงเจริญพระชันษา 90 ปี โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก ประทานอนุญาตให้จำลองจากพระพุทธรูปศิลปะ เนปาล ซึ่งเก่าแก่นับร้อยปีและงดงามเป็นเลิศที่พุทธ ศาสนิกชนชาวเนปาลถวายเมื่อครั้งเสด็จประเทศเนปาลในปี พ.ศ.2528 และได้ประทานอนุญาตให้เชิญนามสกุลในพระ องค์ท่าน คือ 'คชวัตร' ถวายเป็นนามพระกริ่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่นามสกุลในพระองค์ท่านสืบไป
พระกริ่งคชวัตรรุ่นแรกนี้ นอกจากความงดงามอันเป็นเลิศแล้ว ยังสูงส่งด้วยพุทธานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดมีไว้บูชาจะแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน จึงเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายในพระองค์ท่าน
ปัจจุบันอย่าว่าแต่หาเช่าหาชมยากยิ่ง
ในปี พ.ศ.2556 อันเป็นมหามงคลวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงเจริญพระชันษา 100 ปี ทางสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯจึงดำริจัดสร้าง "พระกริ่งคชวัตร รุ่น 2" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยได้รับประทานอนุญาตให้เชิญ 'ชนวนพระกริ่งคชวัตรรุ่นแรก' รวมทั้งชนวนพระกริ่งของวัดบวรนิเวศวิหารรุ่นต่างๆ เช่น ชนวนพระกริ่งปวเรศ ชนวนพระกริ่งบัวรอบ ชนวนพระกริ่งบวรรังษี ชนวนพระกริ่งไพรีพินาศ ชนวนพระกริ่ง 7 รอบ ชนวนพระบูชา ภปร. ชนวนพระบูชาพระชินสีห์ ชนวนพระบูชาพระศาสดา ชนวนครอบน้ำพระพุทธมนต์รุ่นต่างๆ เป็นต้น และชนวนแผ่นโลหะจารของพระเกจิจาก ทั่วประเทศที่ทรงรวบรวมไว้ 108 องค์ มาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้าง และใช้สูตรผสมเต็มสูตรตามแบบการสร้างพระกริ่งของวัดบวรนิเวศวิหารที่สืบทอด กันมาแต่โบราณ
ภายในองค์พระกริ่งทุกองค์ได้บรรจุเส้นพระเกศาและผงมวลสารที่พระองค์ ประทาน ผสมทุกรายการ พร้อมกันนี้พระองค์ท่านประทานอนุญาตให้เชิญรูปตราสัญลักษณ์พระนามย่อ 'ญสส.' มาประดิษฐานเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
รายได้จากการรับบริจาคบูชา นำไปดำเนินการเพื่อทูลเกล้าถวายเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ทรงใช้บำเพ็ญพระกุศลตามพระอัธยาศัย, เพื่อสร้างพระประธานประจำอุโบสถวัดในพระอุปถัมภ์จำนวน 10 วัด และเพื่อสร้างมหาวิหารพระพุทธอุดมมงคลเวฬุวัน วัดเวฬุวัน อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
พระกริ่งคชวัตร รุ่น 2 ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะ เนื้อทองเหลือง ในการนี้ได้จัดสร้างพระชัยวัฒน์ ครอบน้ำพระพุทธมนต์ พระบูชา และพระพุทธพิมพ์สมเด็จพิมพ์ใหญ่ แบบโบราณ โดยจัดสร้างจำนวนจำกัด ประกอบพิธีเททองประมาณเดือนสิงหาคม พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 23 กันยายน 2556 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 15.19 น.
"พระกริ่งคชวัตร รุ่น 2" นับเป็นอีกครั้งในประวัติศาสตร์พระเครื่อง พระบูชาของวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการฉลองพระชันษา 100 ปี ของเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก
พุทธศาสนิกชนไม่ควรพลาดครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น